ผลกระทบจากเหมืองถ่านหินอมก๋อย ชุมชนบ้านกะเบอะดิน
โครงการเหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อยที่กำลังเกิดขึ้นจะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์ของป่าและลำน้ำ สภาพภูมิอากาศ และทำให้วิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนบ้านกะเบอะดินเปลี่ยนไปอย่างไม่มีทางหวนกลับ
ผลงานโดย: พื้นที่สื่อสารประเด็นสิทธิชนเผ่ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (R2S)
เรื่องราวของชาติพันธุ์: กะเหรี่ยงโผล่ว
สถานที่: ชุมชนบ้านกะเบอะดิน เชียงใหม่
เหมืองถ่านหิน
 
บ้านกะเบอะดินเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโผล่ง ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อย สังคมรู้จักชุมชนกะเบอะดินในฐานะที่ชุมชนได้ลุกขึ้นมาต่อสู้และคัดค้านโครงการ ซึ่งหากปล่อยให้โครงการเหมืองแร่เกิดขึ้นในหมู่บ้านนี้ จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนที่พึ่งพาอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ลำห้วยผาขาวที่เป็นสายน้ำสำคัญของหมู่บ้านที่ชาวบ้านใช้ในการอุปโภคบริโภค การเกษตรกรรมเพาะปลูกกะหล่ำและมะเขือส้ม ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของชุมชน ทว่าโครงการเหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อยที่กำลังเกิดขึ้นจะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์ของป่าและลำน้ำ สภาพภูมิอากาศ ซึ่งอาจทำให้วิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนจะเปลี่ยนไปอย่างไม่มีทางหวนกลับ
Right to Space, Right to Speak Ethnic Minority Voices on Climate Change
 
R2S สำรวจความท้าทายที่สำคัญที่กลุ่มชาติพันธุ์กำลังเผชิญในวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งจากโครงการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม กฎหมายและนโยบายที่มีผลกระทบระยะยาว และนำไปสู่การละเมิดสิทธิของชนพื้นเมือง วิกฤตสภาพภูมิอากาศและนโยบายที่เกี่ยวข้องส่งผลกระทบทางลบที่สำคัญ เช่น การทำเกษตรกรรม ความมั่นคงทางอาหารและที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ ทรัพยากรน้ำและป่าไม้ ตลอดจนวีถีชีวิตของชุมชนชาติพันธุ์
 
จากวัฒนธรรมและภูมิปัญญาดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ พวกเขาจึงพึ่งพาตนเองและใช้ประโยชน์ตามสมควรโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามเนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่มาจากชนกลุ่มน้อย พวกเขาจึงไม่มีเสียงและเวทีเพียงพอที่จะสื่อสารความท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญต่อสาธารณะ
 
R2S ทำงานเพื่อปกป้องสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง และเปิดเวทีเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีความรับผิดชอบ
 
แนวทางในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อโลกของเรา เพื่อจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เราจะต้องดำเนินการทันที เราสนับสนุนนโยบายที่เป็นธรรม ความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ และการไม่เลือกปฏิบัติ สำหรับโลกที่การตัดสินใจขับเคลื่อนด้วยความเสมอภาค หลักนิติธรรม และความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีสติ และศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนเพื่ออนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นของโลกและคนในรุ่นต่อไป
ความคิดเห็นในเอกสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียน และไม่จำเป็นต้องเป็นความคิดเห็นขององค์การสหประชาชาติ รวมถึงโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และรัฐสมาชิก โดยเป็นการตีพิมพ์เอกสารอย่างอิสระซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป
เขียนโดย
พื้นที่สื่อสารประเด็นสิทธิชนเผ่ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (R2S)
R2S พื้นที่สื่อสิทธิ พื้นที่ส่งเสียง สำรวจความท้าทายที่สำคัญที่กลุ่มชาติพันธุ์กำลังเผชิญในวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากโครงการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม กฎหมายและนโยบายที่มีผลกระทบระยะยาว และนำไปสู่การละเมิดสิทธิของชนพื้นเมือง